อันตรายจากภาชนะกล่องโฟมบรรจุอาหาร... สะดวกสบายแต่เป็นภัยกว่าที่คิด !!

หมวดหมู่: บทความอาหาร | 5 มกราคม 2562 | จำนวนเข้าชม (21,762)
อันตรายจากภาชนะกล่องโฟมบรรจุอาหาร... สะดวกสบายแต่เป็นภัยกว่าที่คิด !!

ในบ้านเรานั้น โฟมเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการบรรจุอาหาร ใช้เป็นกล่องใส่ข้าวกล่อง อาหารกล่อง รวมถึงขนมและผลไม้ เนื่องจากกล่องโฟมมีราคาถูกมาก ซื้อหาง่าย และใช้งานง่าย กล่องโฟมจึงได้รับความนิยมแพร่หลายมาอย่างยาวนาน แต่ในความสะดวกสบายนั้นก็มีอันตรายจากกล่องโฟมและผลเสียจากกล่องโฟมอยู่ไม่น้อย

Polystyrene_Structure


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโฟมทั่วไปกันเล็กน้อย “โฟม” ที่เราใช้กันทั่วไปนั้นคือพลาสติกชนิดหนึ่งที่ผลิตจากสารประกอบโฮโดรคาร์บอนจากการผลิตปิโตรเคมี และนำมาผ่านกระบวนการในการทำให้ขยายตัวเพื่อให้มีความฟูและเบา ซึ่งมักจะทำมาจากโพลีสไตรีน (Polystyrene) ซึ่งได้จากการผลิตปิโตรเคมี

 

Expanded_Polystyrene

 

พลาสติกโพลีสไตรีนนั้น ได้แบ่งออกตามลักษณะของกระบวนการผลิตได้ 2 ชนิด คือ
1 Expanded Polystyrene (EPS) ผลิตโดยการใช้ใช้ก๊าซ Pentane เป็นสารที่ทำให้เกิดการขยายตัวและพองฟูขึ้นเมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำ พอลิสไตรีนก็จะขยายตัวกลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปตามลักษณะของแม่พิมพ์ที่ต้องการ เช่น โฟมกล่องน้ำแข็ง หมวกกันน็อคม โฟมแผ่น และโฟมก้อนที่ใช้ทำถนน เป็นต้น

2 Polystyrene Paper Foam (PSP) ใช้ก๊าซ Butane หรือที่เรารู้จักกันนั่นก็คือ ก๊าซหุงต้มนั่นเอง โดยนำไปผ่านกระบวนการความร้อนทำให้พลาสติกพอลิสไตรีนหลอมตัว แล้วฉีดออกเป็นแผ่นคล้ายม้วนกระดาษ จากนั้นก็จะสามารถนำม้วนโฟม PSP เพื่อไปขึ้นรูปตามลักษณะของแม่พิมพ์ในการใช้งานต่างๆ เช่น กล่องโฟมบรรจุอาหาร ถ้วยโฟมใส่อาหาร หรือถาดอาหาร เป็นต้น

 

58016961_m

 

กล่องโฟมบรรจุอาหารที่ทุกคนรู้จักคุ้นเคยและคงได้มีการใช้งานกันอยู่บ้างไม่มากก็น้อยเพราะร้านอาหารต่างๆ ทั่วไปจากมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งข้าวกล่อง อาหารกล่อง ผลไม้ รวมไปถึงขนม ด้วยความสะดวก หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงจึงทำให้อาหารกล่องโฟมได้รับความนิยมค่อนข้างมาก แต่ความสะดวกนั้นมักมาพร้อมกับอันตรายแผง ที่เกิดขึ้นจากโฟมบรรจุอาหาร ตั้งแต่การเริ่มต้นในขั้นตอนการผลิด การนำมาใส่อาหาร รวมไปถึงการใช้เสร็จแล้วจนกลายเป็นขยะ จึงทำให้มีงานวิจัยต่างๆ มากมายที่ว่าด้วยเรื่องความอันตรายจากสารเคมีภายในโฟมบ่อยครั้ง พร้อมด้วยพิษภัยที่สร้างปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนทำให้คนทั่วไปเกิดความตระหนักในเรื่องการใช้โฟมมาเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารกันมากขึ้น และมีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ที่ปลอดภัยกว่าเดิมมาใช้งานแทน

 

Foam_Box_Food1

 

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้โฟมก็ยังคงเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม เพราะมีราคาถูก ใช้งานง่าย ทำให้การใช้โฟมอาจกลับมาสร้างปัญหาสุขภาพให้กับคนไทยอีกครั้ง โดยพิษภัยของกล่องโฟมใส่อาหารที่คุณควรรู้ คือ


1.เสี่ยงมะเร็งมากกว่าคนปกติ 6 เท่า
โฟมถูกผลิตมาจากโพลิเมอร์ชนิดโพลิสไตรีน (Polystyrene) พร้อมด้วยส่วนผสมที่มีทั้งเบนซินและโมเลกุลที่คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ซึ่งถ้าพูดกันแบบตรงๆ คือ กล่องโฟมนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาจากของเสียในขั้นตอนการกลั่นน้ำมันเป็นของเหลือที่ถูกกลั่นแล้วทิ้ง แต่ด้วยความที่ยังสามารถขึ้นรูปและนำมาทำเป็นโฟมได้ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเหมือนกับบรรจุภัณฑ์ที่มาจากวัสดุอื่น จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่โฟมกลับมีปฏิกิริยากับความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส โดยจะปล่อยสารสไตรีนกับเบนซินออกมาปะปนกับอาหาร ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มสารตั้งต้นของมะเร็งที่ให้ความเสี่ยงสูงถึง 6 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งานกล่องโฟมเป็นกล่องบรรจุอาหารเพื่อรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งในบ้านเราผู้ที่รับประทานข้าวกล่องโฟมอาหารกล่องโฟมมีจำนวนสูงมากจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น


2.ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท
สไตรีนไม่ได้ส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเท่านั้น แต่ยังเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลายด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะเริ่มออกอาการมึนงง สมองเบลอ จำอะไรไม่ค่อยได้ จนอาจลุกลามสู่การเป็นโรคสมองเสื่อม ยิ่งไปกว่านั้นคืออาจจะทำให้การเคลื่อนไหวมีปัญหาและไม่สามารถทรงตัวได้ตามปกติ ประสาทส่วนกล้ามเนื้อต่างๆ ภายในร่างกายก็ถูกลดประสิทธิภาพลง จึงทำให้อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

 

Foam_Box_Food2

 

3.ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร
เมื่อความร้อนจากการทำอาหารสูงเกินกว่า 70 องศาเซลเซียส ก็แน่นอนว่าสไตรีนและเบนซินจะละลาย พร้อมไหลออกมาแล้วเข้าไปปนเปื้อนในอาหารทุกชนิดที่ใช้กล่องโฟมเป็นบรรจุอาหาร ไม่ว่าจะนำใบตองหรือกระดาษมารองไม่ให้อาหารต้องสัมผัสกับโฟมโดยตรง ก็ไม่สามารถช่วยได้ ยิ่งถ้าใช้พลาสติกรองอาหารบนโฟมก็ยิ่งเพิ่มความอันตรายเป็น 2 เท่า เพราะเมื่อใดที่อาหารยังคงร้อนและมีไขมันในอาหาร สไตรีนก็เข้าไปปนเปื้อนได้เช่นกัน รวมไปถึงการนำกล่องโฟมบรรจุอาหารไปอบในไมโครเวฟก็จะเป็นตัวเร่งให้สารเบนซินและสไตรีนไหลเข้าสู่อาหารได้ง่าย แถมรวดเร็วกว่าเดิมเนื่องจากกล่องอาหารโฟมจะถูกความร้อนโดยตรงทำให้ปะปนอยู่ในอาหารจำนวนมาก และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือไข่ไก่ดิบที่ยังมีเปลือกห่อหุ้ม เมื่อวางอยู่บนโฟมหรือแผงไข่ที่เป็นพลาสติกก็สามารถปนเปื้อนสารทั้ง 2 ชนิดนี้ได้เช่นกัน


4.ทำลายอวัยวะภายใน
เรื่องที่น่ากลัวที่สุดของการใช้กล่องโฟมเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ การเข้าไปสะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอที่จะทำลายอวัยวะภายในได้ พิษของสไตลรีนจะเข้าไปจับกระดูก ตับ ไต และหัวใจ จากนั้นก็จะเริ่มทำลายไปเรื่อยๆ พร้อมแสดงอาการให้เห็นคือผิวแห้งแตกแบบไม่มีเหตุผล, ผู้หญิงเริ่มประจำเดือนมาผิดปกติ, มีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่าย, หัวใจเต้นเร็วหรือบีบตัวแรงผิดปกติ, กระเพาะอาหารถูกทำลายจนเกิดอาการปวดท้องรุนแรง แล้วอาเจียนออกมาเป็นเลือด, เกิดอาการชักแบบไม่มีสาเหตุ และสุดท้ายคืออาจทำให้เสียชีวิตในเวลาที่รวดเร็ว เป็นต้น ส่วนผู้ที่ได้รับสารสไตรีนในปริมาณที่ไม่สูง แต่รับมาเรื่อยๆ สไตรีนก็จะถูกสะสมอยู่ในเลือด จนทำให้เกิดปัญหาเม็ดเลือดแดงลดลงจนเหลือแต่เม็ดเลือดขาว จึงเกิดการทำลายภูมิคุ้มกันตัวเองและอาจร้ายแรงไปจนถึงขั้นทำลายไขกระดูกเลยทีเดียว


5.สร้างมลภาวะที่ร้ายแรง
กล่องโฟมใส่อาหารไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังทำให้สภาพแวดล้อมและสัตว์ทุกชนิดต้องได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะขั้นตอนการผลิตนั้นจะมีการปล่อยของเสียออกมาทั้งทางน้ำและทางอากาศ เมื่อนำมาใช้งานแล้วทิ้งเป็นขยะก็ต้องรอให้สลายไปเองตามธรรมชาติถึง 450 ปี ในขณะเดียวกันที่คนทิ้งก็มีมากขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาขยะกล่องโฟมล้นโลก เกิดเป็นการสะสมเป็นอันตรายต่อธรรมชาติที่พร้อมปล่อยสาร CFC ออกมาทำลายชั้นบรรยากาศได้ ด้วยความน่ากลัวนี้จึงทำให้หลายประเทศออกมาต่อต้านและสั่งห้ามการใช้โฟมที่ผลิตจากสารสไตรีนอย่างเด็ดขาด

 

Foam_Box_Trash

 

การใช้งานกล่องโฟมบรรจุอาหารประเภทข้าวกล่องและอาหารกล่องนั้นมีราคาแสนถูก ผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ แต่กลับทิ้งความอันตรายไว้เบื้องหลังอย่างมากมายนี้ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานข้าวกล่องอาหารกล่องจากกล่องโฟมเป็นประจำ บางท่านเกือบทุกวันซึ่งจะเกิดการสะสมทีละน้อยเป็นระยะเวลานานหลายปี อาจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพถึงแม้กล่องโฟมบบางตัวจะมีการละลายและปนเปื้อนที่ต่ำมาก การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นนั้นอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ที่ทนทานต่อความร้อนได้ดี อย่างชานอ้อย, กล่องมันสำปะหลัง หรือกล่องเยื่อไผ่ที่ถูกนำมาผลิตเป็นไบโอโฟมเพื่อทดแทนการใช้งานของกล่องโฟมโดยเฉพาะ ซึ่งราคาของบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติอาจจะแพงกว่าเล็กน้อย แต่ก็ไม่สร้างภาระเรื่องโรคร้ายให้กับผู้บริโภคและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมให้ต้องเสียหาย จนอาจก่อให้เกิดภัยร้ายต่างๆ ตามมาในอนาคต หรือจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างกล่องข้าว, จานเซรามิค และกล่องพลาสติก PP (โพลิโพรพิลีน) คุณภาพสูงทนความร้อนและสามารถในไปอุ่นในเครื่องไมโครเวฟได้ด้วยซึ่งสามารถนำมา Recycle ได้ง่ายกว่าโฟมมาก แบบนี้ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและขยะล้นโลกได้ดีเลยทีเดียว

คีย์เวิร์ด: กล่องโฟม,กล่องอาหารโฟม,ข้าวกล่อง,อาหารกล่อง,อันตราย,อันตรายจากกล่องโฟม